พลังประชารัฐ ค้านนิรโทษกรรม มาตรา 112 ทุกกรณี

“ไพบูลย์” ยันพลังประชารัฐค้านนิรโทษกรรม มาตรา 112 ไม่ว่ามีเงื่อนไขหรือไม่มีเงื่อนไข ชี้ “บิ๊กป้อม” เห็นชอบแล้ว

วันที่ 17 ตุลาคม 2567 นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เปิดเผยว่า ได้แถลงจุดยืนของหัวหน้าพรรค และพรรค พปชร. ที่ยืนยันคัดค้านการนิรโทษกรรมผู้กระทำผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่ว่าจะกำหนดให้มีเงื่อนไขหรือไม่ก็ตาม

ซึ่งปรากฏในรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม หน้าที่ 31-32 มีความดังนี้ และตนไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110 และมาตรา 112 ไม่ว่าจะกำหนดให้มีเงื่อนไขหรือไม่

โดยกรรมาธิการส่วนหนึ่งเห็นว่าคดีความผิดตามมาตรานี้เป็นคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง และมีกรรมาธิการอีกส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเห็นคัดค้านที่ไม่เห็นด้วยให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม มาตรา 112 ดังนั้น จึงไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยมีเหตุผล ดังนี้

1.ประชาชนทั่วทั้งประเทศจำนวนมากยังมีความเห็นคัดค้านในการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หากดำเนินการไปจะทำให้เกิดความขัดแย้งครั้งใหญ่ขึ้นในสังคมอีกครั้งหนึ่ง และจะไม่สามารถทำให้เกิดความปรองดองในสังคมได้ ซึ่งจะทำให้สิ่งที่คณะกรรมาธิการวิสามัญดำเนินการมาทั้งหมดสูญหายไป

ดังนั้น หลักการสำคัญที่สุดที่ทำให้ตนไม่เห็นด้วย กับการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามมาตรานี้ คือ ยังมีประชาชนทั่วทั้งประเทศจำนวนมากที่มีความเห็นคัดค้านเรื่องนี้ จะทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกในสังคมกันอย่างมากมาย

2.มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะ อันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดมิได้” ดังนั้น ประมวลกฎหมายอาญา จึงมีการแยกหมวด ด ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไว้โดยเฉพาะ และมีบทบัญญัติในมาตรา 110 มาตรา 112 เพื่อคุ้มครองพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามมาตรานี้จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ

3.คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดการกระทำความผิดเกี่ยวกับการดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และเป็นกฎหมายคุ้มครองไม่ให้มีการละเมิดพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของรัฐ และเป็นสถาบันหลักของประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไว้เช่นนี้ และรัฐธรรมนูญได้บัญญัติคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน

จึงควรให้ผู้กระทำผิดถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม แต่การออกกฎหมายนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดมาตรานี้จะเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ และขัดกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 ซึ่งวินิจฉัยว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ทรงดำรงอยู่เหนือการเมือง และทรงดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางทางการเมือง

และไม่เห็นด้วยว่าคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นคดีทางการเมือง เพราะเรื่องทางการเมืองจะต้องเป็นเรื่องระหว่างนักการเมืองด้วยกัน หรือเกี่ยวข้องกับประชาชนที่มีอุดมการณ์คล้อยตาม นักการเมือง หรือพรรคการเมือง ซึ่งสามารถมีการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดในคดีทางการเมืองได้ แต่หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์จะต้องพิจารณาเป็นอีกเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ

ดังนั้น คำวินิจฉัยที่ 3/2567 ของศาลรัฐธรรมนูญจึงมีความสำคัญผูกพันกับทุกองค์กร เพราะที่ผ่านมาเคยมีการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งศาลรัฐธรรมนุญมีคำวินิจฉัยไว้ว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเหตุให้ชำรุดทรุดโทรม เสื่อมทรามและอ่อนแอลง นำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

นายไพบูลย์กล่าวว่า นอกจากนี้ การกำหนดให้มีการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามมาตรา 112 จะเป็นการทำให้การกระทำความผิดตามมาตรา 112 ไม่เป็นการกระทำผิดอีกต่อไป ดังนั้น การออกกฎหมายนิรโทษกรรม มาตรา 112 จึงจะมีผลกระทบรุนแรงต่อการปกป้องคุ้มครองสถาบันมากกว่าการแก้ไขมาตรา 112

ดังนั้น การที่มีการอภิปรายถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 และรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 เพื่อให้เห็นเจตนาว่าการออกกฎหมายนิรโทษกรรม จะต้องคำนึงไม่ให้ไปฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ประเด็นที่ควรกังวลอย่างมากคือการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ผู้กระทำความผิดมาตรา 112 นี้ จะเป็นมูลเหตุนำมาซึ่งความขัดแย้งครั้งใหญ่ของประชาชนทั้งประเทศ

“และความเห็นของผมในเรื่องนี้เป็นไปตามความเห็นของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคและพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งมีนโยบายในการปกป้องสถาบันให้มั่นคงสถาพรตลอดไป เป็นที่ยึดมั่นศรัทธาของประชาชน ไม่ต้องการให้ผู้ใด กลุ่มบุคคลใด มากระทำการใด ๆ กระทบกระเทือนต่อสถาบัน ดังนั้น พรรคพลังประชารัฐจึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งในการออกกฎหมายเพื่อนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110 มาตรา 112 ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น”

ข้อมูล/ภาพ : ประชาชาติ

author avatar
CatchUp

Related Posts

  • POLITICS
  • มกราคม 22, 2025
  • 4 views
“นายกฯอิ๊งค์” หารือผู้บริหาร Coca-Cola, เนสท์เล่, DP World ชูศักยภาพไทย

“นายกฯ แพทองธาร” หารือผู้บริหา…

  • POLITICS
  • มกราคม 21, 2025
  • 6 views
โดนัลด์ ทรัมป์ สาบานตนรับตำแหน่ง ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐฯ

โดนัลด์ ทรัมป์ สาบานตนรับตำแหน…

You Missed

“ดีเอสไอ” อนุมัติให้ทำการสืบสวน “คดีแตงโม” ตกเรือแล้ว

  • มกราคม 22, 2025
  • 1 views
“ดีเอสไอ” อนุมัติให้ทำการสืบสวน “คดีแตงโม” ตกเรือแล้ว

หนุ่มขับชนไรเดอร์ได้ประกัน เมียรับศพ แกะมือที่กำแน่น บอกไม่ต้องแค้นเขาแล้ว

  • มกราคม 22, 2025
  • 5 views
หนุ่มขับชนไรเดอร์ได้ประกัน เมียรับศพ แกะมือที่กำแน่น บอกไม่ต้องแค้นเขาแล้ว

‘ซีเกท’ เผยรับอานิสงส์ ‘AI’ จากดีมานด์ ’สตอเรจ’ พุ่ง

  • มกราคม 22, 2025
  • 2 views
‘ซีเกท’ เผยรับอานิสงส์ ‘AI’ จากดีมานด์ ’สตอเรจ’ พุ่ง

5 ตลาดธุรกิจ LGBTQ ที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้

  • มกราคม 22, 2025
  • 5 views
5 ตลาดธุรกิจ LGBTQ ที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้

ศาลอาญาสั่งจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสน ทนายเดชา หมิ่น”อาจารย์อ็อด”

  • มกราคม 22, 2025
  • 2 views
ศาลอาญาสั่งจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสน ทนายเดชา หมิ่น”อาจารย์อ็อด”

ก.พ. 68 เพิ่มสลากดิจิทัลอีก 1 ล้านใบ ให้ผู้ซื้อเข้าถึงราคาที่เป็นธรรม

  • มกราคม 22, 2025
  • 3 views
ก.พ. 68 เพิ่มสลากดิจิทัลอีก 1 ล้านใบ ให้ผู้ซื้อเข้าถึงราคาที่เป็นธรรม