เกิดอะไรขึ้นเมื่อ โดนัลด์ ทรัมป์ พาสหรัฐฯ ถอนตัวจากความตกลงปารีสอีกครั้ง ผลกระทบอาจสะท้อนจากการถอนตัวครั้งก่อน โดยเฉพาะการหยุดชะงักการเงินด้านสภาพอากาศ
ในวันแรกที่กลับมาดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารที่เริ่มต้นการถอนตัวอย่างเป็นทางการของสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นข้อตกลงสำคัญระหว่างประเทศต่างๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ต่ำกว่า 2 องศา
ถือเป็นครั้งที่สองที่ทรัมป์ดำเนินการเช่นนี้ โดยก่อนหน้านี้ทรัมป์เคยประกาศถอนตัวจากข้อตกลงดังกล่าวเมื่อสมัยแรกของเขาในปี 2017 การเคลื่อนไหวในสัปดาห์นี้จะทำให้สหรัฐฯ เป็น 1 ใน 4 ประเทศในโลกที่ไม่ได้เป็นภาคีของข้อตกลง ส่งผลให้ผู้สนับสนุนสิ่งแวดล้อมและผู้นำโลกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
แผลเก่าการเงินโลก หลัง ‘ทรัมป์’ ทิ้งความตกลงปารีส
ช่วงเวลาก่อนหน้านี้ที่สหรัฐฯ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความตกลงอีกต่อไปนั้นกินเวลาเพียง 4 เดือน การถอนตัวเสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายน 2020 และ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กลับเข้าร่วมความตกลงปารีสอีกครั้งในช่วงต้นปี 2021 ผลกระทบนั้นรุนแรงมาก
กระบวนการดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำลาย การทูตด้านสภาพอากาศ ระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ยังทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ บนเวทีโลกอีกด้วย โดยส่งสัญญาณถึงความไม่แน่นอนและการถอยห่างจากความเป็นผู้นำระดับโลกในช่วงเวลาสำคัญของวิกฤตสภาพอากาศ
การเคลื่อนไหวดังกล่าวยังทำให้การสนับสนุนทางการเงินด้านสภาพอากาศหยุดชะงัก ส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาไม่ได้รับการสนับสนุนที่สำคัญสำหรับความพยายามบรรเทาผลกระทบและปรับตัว
ข่าวการถอนตัวในสัปดาห์นี้ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ
แม้ว่าจะมีเสียงคัดค้านในช่วงดำรงตำแหน่งวาระแรก แต่ทรัมป์ก็ได้สัญญาไว้นานแล้วว่าจะถอนตัวออกจากข้อตกลงนี้หากเขากลับเข้ารับตำแหน่ง โดยระหว่างการหาเสียงเพื่อดำรงตำแหน่งวาระที่สอง ทรัมป์ได้อ้างถึง
ความตกลงนี้ว่า “ไม่ยุติธรรม” และ “ลำเอียงข้างเดียว” ถ้อยคำดังกล่าวสะท้อนถึงเหตุผลก่อนหน้านี้ที่เขาเคยให้ไว้ในการถอนตัว นั่นคือ ความตกลงนี้สร้างภาระทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมให้กับสหรัฐฯ ในขณะที่ปล่อยให้ประเทศอื่นๆ เช่น จีน ยังคงปล่อยมลพิษต่อไป
ข้อมูล/ภาพ : ฐานเศรษฐกิจ