การเปิดให้มีการซื้อขายไฟฟ้าโดยตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า “Driect PPA” (Direct Power Purchase Agreement) เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงนี้ หลายฝ่ายมองว่านโยบายนี้อาจช่วยกระตุ้นการแข่งขันและลดต้นทุนค่าไฟฟ้าในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังมีผลกระทบที่ควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปและระบบพลังงานของประเทศ
ทุกวันนี้ไฟฟ้าในไทยอยู่ในความดูแลของรัฐ เพื่อให้ราคาและการจัดการมีเสถียรภาพ ประชาชนได้ใช้ไฟฟ้าทั่วถึง แต่ช่วงนี้มีคนพูดถึง “Driect PPA” (Direct Power Purchase Agreement) คือ “ตลาดไฟฟ้าเสรี” กันเยอะ บอกว่าถ้าเปิดให้เอกชนขายไฟตรงให้ประชาชนได้ ค่าไฟอาจถูกลงกว่าเดิม จริงหรือเปล่า? มาลองดูกัน
ปัจจุบันไทยใช้ระบบอะไรอยู่
ปัจจุบันระบบไฟฟ้าของประเทศไทยมีคุณภาพในระดับต้นๆ ของภูมิภาคอาเซียน ดัชนีจำนวนครั้งที่ไฟฟ้าดับ (SAIFI) และระยะเวลาไฟฟ้าดับ (SAIDI) ของไทยอยู่ในอันดับที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย
การเปลี่ยนไปสู่ระบบ DPPA อาจทำให้การจัดการระบบไฟฟ้าสำรองมีความซับซ้อนมากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อความไม่เสถียรของระบบไฟฟ้า หากการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปโดยขาดการวางแผนที่เหมาะสมในอาเซียน ระบบไฟฟ้าไทยติดอันดับต้น ๆ เลย
- จำนวนครั้งที่ไฟดับ: ไทยอยู่อันดับ 5
- ระยะเวลาไฟดับ: ไทยอยู่อันดับ 2 รองจากสิงคโปร์
ตอนนี้ไทยใช้ระบบที่เรียกว่า Enhanced Single Buyer (ESB) คือรัฐเป็นคนกลาง ซื้อไฟจากเอกชนแล้วขายต่อให้ประชาชน แบบนี้รัฐคุมได้ 100% ทั้งราคาและการจัดการ
ผลกระทบของ Direct PPA ในภาวะวิกฤติ
เมื่อเกิดเหตุการวิกฤติอัตราค่าไฟฟ้าในตลาดเสรีไฟฟ้ามีโอกาสที่จะผันผวนอย่างมาก
- ช่วงโควิด-19: ความต้องการไฟลดทั่วโลก
- สงครามรัสเซีย-ยูเครน: ต้นทุนพลังงานพุ่ง
โดยในยุโรปที่ใช้ตลาดเสรีไฟฟ้า ค่าไฟบางประเทศขึ้นหนักมาก เช่น
- อิตาลี: เพิ่ม 188%
- สวีเดน: เพิ่ม 157%
- สเปน: เพิ่ม 87%
- เนเธอร์แลนด์: เพิ่มขึ้น: 75%
- เยอรมนี: เพิ่มขึ้น: 73%
- เดนมาร์ก: เพิ่มขึ้น: 65%
- อเมริกา: เพิ่มขึ้น: 65%
- อังกฤษ: เพิ่มขึ้น: 63%
- ออสเตรเลีย: เพิ่มขึ้น: 37%
- ฝรั่งเศส: เพิ่มขึ้น: 26%
- ญี่ปุ่น: เพิ่มขึ้น: 23%
- สิงคโปร์: เพิ่มขึ้น: 23%
- ไทย: เพิ่มขึ้น: 19%
แม้การเปิดให้ซื้อขายไฟฟ้าโดยตรง (DPPA) จะมีข้อดีในด้านการเพิ่มการแข่งขันและกระตุ้นการลงทุนในพลังงานสะอาด แต่ข้อเสียและผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อย เป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้าม การดำเนินนโยบายนี้จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาระบบพลังงานและการดูแลประชาชนในทุกภาคส่วน